ปัจจุบันศาสตร์ไคโรแพรคติก (Chiropractic) หรือที่เรียกง่าย ๆ ว่าการจัดกระดูก เป็นที่นิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในประเทศไทย ด้วยสรรพคุณที่เชื่อว่าสามารถแก้อาการไมเกรน ออฟฟิศซินโดรม และปัญหาทางด้านกายภาพต่าง ๆ อีกมากมายที่ผู้ป่วยหลายคนเคยรักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่หายขาดอย่างที่ใจต้องการ ไคโรแพรคติกจึงเป็นศาสตร์การแพทย์ทางเลือกอีกวิถีหนึ่งที่ผู้ป่วยหลายคนยินดีที่จะลอง เช่นเดียวกับการแพทย์แผนจีน หรือการทำกายภาพบำบัด

คำว่าไคโรแพรคติก (Chiropractic) มีรากฐานมาจากภาษากรีก คือ Χειρ (Cheir) ซึ่งแปลว่า มือ และ Πρακτικας (Praktikas) ซึ่งแปลว่า วิธีปฏิบัติใช้ได้จริง เมื่อผสมกันจึงมีความหมายว่า การรักษาด้วยมือ ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขของไทยได้ให้ความหมายของ “ศาสตร์ไคไรแพรคติก” ไว้ว่าเป็น การกระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจ การวินิจฉัย การบำบัดอาการ และส่งเสริมสุขภาพของร่างกายเฉพาะในส่วนของกระดูกสันหลังและเนื้อเยื่อที่เกี่ยวข้องโดยไม่มีการใช้ยาหรือการผ่าตัด

อันที่จริงไคโรแพรคติกนั้นเป็นศาสตร์สากลที่มีการศึกษาและได้รับการยอมรับจากต่างประเทศ และมีหลักสูตรการเรียนการสอน เช่นที่ Georgia Institule of Technology, El Camino College, University of California, Syracuse University & University of Wisconsin ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหลักสูตร 4 ปีเฉกเช่นเดียวกับนักกายภาพบำบัด และเริ่มมีนักไคโรแพรคเตอร์เข้ามาให้การรักษาในประเทศไทยมานานกว่า 20 ปี 

แนวทางการรักษาของไคโรแพรคติก เป็นการรักษาแบบ Non-Invasive หรือ การรักษาที่ไม่รุกรานไปใต้ผิวหนัง แต่จะเน้นเทคนิคการบำบัดข้อกระดูก (Therapy) ฟื้นฟูกล้ามเนื้อที่มีปัญหา มีการปรับโครงสร้างเพื่อทำให้กระดูกสันหลังขยับได้ปกติและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่ต้องอาศัยยาและการผ่าตัด โดยเป็นศาสตร์ที่ให้ความสำคัญกับกระดูกสันหลัง (Spine) ระบบประสาท (Nervous System) ลักษณะโครงสร้างของร่างกาย (Structure) และโภชนาการด้านอาหาร วิตามิน (Nutrition)

แต่อย่างไรก็ตาม ศาสตร์ไคโรแพรคติกยังไม่มีกฎหมายไทยรับรองเป็นพระราชบัญญัติ แต่เปิดช่องอนุญาตให้มีการประกอบวิชาชีพที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและเป็นทางเลือกทางการแพทย์ โดยอยู่ในส่วนของการประกอบโรคศิลปะ ซึ่งก็คือ “กิจการใด ๆ อันกระทำโดยตรงต่อร่างกายของมนุษย์ในการบำบัดโรค ซึ่งรวมตลอดถึงการตรวจโรค และป้องกันโรคในสาขาต่าง ๆ” 

ดังนั้น ผู้ที่จะให้บริการไคโรแพรคติก อันถือเป็นศาสตร์หรือความรู้จากต่างประเทศนี้ แม้จะสำเร็จหลักสูตรการศึกษาไคโรแพรคติกจากต่างประเทศ แต่ก็ต้องมี “ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยศาสตร์ไคโรแพรคติก” จากกระทรวงสาธารณสุขของไทยเสียก่อน 

แน่นอนว่าเพื่อให้มั่นใจถึงคุณภาพและการตรวจรักษาด้วยศาสตร์ไคโรแพรคติกที่ต้องกระทำต่อกระดูกสันหลังและข้อต่อต่าง ๆ ของผู้ป่วยโดยตรงซึ่งมีความละเอียดอ่อนสูง ทุก ๆ ขั้นตอนการรักษาจึงมีความสำคัญมาก ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งกระดูก หรือน้ำหนักการกด การดัด ปรับ เพราะหากพลาดพลั้งไป นั่นหมายถึงการเพิ่มความเจ็บป่วยและเกิดอาการที่ร้ายแรงมากกว่าเดิม ดังนั้น การสอบใบอนุญาตของศาสตร์ไคโรแพรคติกจึงต้องมีการสอบทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ 

เช่น ภาคทฤษฎีวิชาพรีคลินิก (Pre Clinic) ภาควิชากฎหมายและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ ภาคทฤษฎีสาขาวิชาชีพเฉพาะ (Chiropractic) ภาคการประเมินทักษะการตรวจวินิจฉัยวิชาชีพไคโรแพรคติก สอบสัมภาษณ์จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพและเจตคดิต่อวิชาชีพไคโรคแพรคติก เป็นต้น 

โดยจะมีการประกาศรายชื่อผู้ที่มีคุณสมบัติเพื่อขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยศาสตร์ไคโรแพรคติกผ่านเว็บไซต์ของกองสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ และเมื่อได้รับใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะแล้ว จะมีอายุการใช้งาน 2 ปีและต้องดำเนินต่อใบอนุญาตใหม่อีกครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าประสิทธิภาพการรักษาของผู้ที่ใช้ศาสตร์ไคโรแพรคติกนั้นยังมีคุณภาพที่ดีอยู่เสมอ

หากครั้งใดที่ตัดสินใจลองทำการรักษาด้วยวิธีการจัดกระดูก อย่าลืมพิจารณาถึงใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะด้วยทุกครั้ง เพื่อความมั่นใจของตัวคุณเองว่าจะได้รับการรักษาจากนักไคโรแพรคเตอร์ที่เชี่ยวชาญและดีที่สุด

Leave a Reply

Your email address will not be published.

Explore More

ไขข้อสงสัย? Ulthera เจ็บไหม? ต้องดูแลหลังทำอย่างไร?

ulthera

สำหรับสาว ๆ ที่เริ่มรู้สึกว่าใบหน้าหย่อนคล้อย ไม่ได้รูป รู้สึกใบหน้าไม่กระชับ มีริ้วรอย ทำให้ดูแก่กว่าวัย สนใจอยากลองใช้บริการ  Ulthera แต่สงสัยว่าทำแล้วเจ็บไหม? เราจะพาคุณไปไขข้อสงสัย? Ulthera เจ็บไหม? ต้องดูแลหลังทำอย่างไร? อยากรู้แล้ว ตามไปดูกันได้เลย Ulthera คืออะไร?  Ulthera เป็นการยกกระชับใบหน้า ด้วยการใช้นวัตกรรมคลื่นเสียงอัลตราซาวนด์ ยิงลงไปใต้ชั้นผิว ลึกถึงผิวหนัง ที่ชั้น Smas เพื่อทำให้ผิวเกิดการหดตัว และยกกระชับใบหน้าขึ้น โดยเป็นการทำการยกกระชับไม่ต้องเสียเวลาในการพักฟื้น แต่คงสงสัยว่าแล้วทำ Ulthera

แนะนำ 4 เมนูที่เสิร์ฟคู่กับชีสบอลแล้วลงตัวที่สุด

หากจะพูดถึงเมนูอาหารที่ทำง่าย รับประทานง่าย สะดวกสบายทุกเวลา ไม่ว่าจะมื้อไหนก็ตอบโจทย์ หนึ่งในนั้นต้องมีเมนูอย่างชีสบอลรวมอยู่ด้วยอย่างแน่นอน เรียกได้ว่านี่คือสุดยอดเมนูอเนกประสงค์อย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม การจะต้องกินชีสบอลอย่างเดียวก็ดูจะเลี่ยนเกินไปเสียหน่อย บทความนี้จึงจะมาแนะนำ 4 เมนู ที่ไม่ว่าจะเสิร์ฟคู่กันเมื่อไร ก็เข้ากันได้เมื่อนั้น เป็นเคล็ดลับความอร่อยที่แสนลงตัว เพรทเซล คู่หูที่เข้ากันได้เป็นอย่างดีที่สุดกับอาหารอย่างเพรทเซล คงต้องยกให้กับชีสดิป และด้วยเหตุนี้ ลองจินตนาการตามดูว่าหากเราผ่าชีสบอลที่ทอดเสร็จร้อน ๆ ออก ชีสสีนวลไหลเยิ้มทะลักออกมาจากภายใน จากนั้นใช้เพรทเซลจุ่มลงไป เมื่อลิ้นได้รับรสชาตินี้มันจะฟินขนาดไหน  ลูกแพร์ชิ้นแอปเปิ้ล ผลไม้กับชีสคือสิ่งที่อยู่คู่กันมาอย่างช้านานแล้วในประวัติศาสตร์แห่งอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลไม้ที่มีเนื้อสัมผัสกรอบแน่นอย่างลูกแพร์และแอปเปิ้ล ดังนั้นการจับพวกมันมาเสิร์ฟคู่กับชีสบอลที่ทอดเสร็จร้อน ๆ ส่งกลิ่นหอมกรุ่นฟุ้งกระจาย

สรุปแบบรวบรัด! ระบบ Scada โรงงานคืออะไร ทำไมจึงสำคัญ

วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความเข้าใจกับระบบนี้กันแบบรวบรัด ใช้เวลาในการอ่านไม่เกิน 3 นาที!